เคล็ดลับ 16 ประการของการแกว่งแขนกับคำอธิบาย

  1. ส่วนบนควรจะปล่อยให้ว่าง หมายถึงส่วนบนของร่างกาย คือ ศรีษะควรปล่อยให้ว่างเปล่า ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจ มีสมาธิแน่วแน่

  2. ส่วนล่างควรจะให้แน่น   หมายถึงส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไปต้องให้ลมปราณเดินได้สะดวก

  3. ศรีษะแขวนลอย   หมายถึงศรีษะต้องปล่อยสบายประหนึ่งแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อคอต้องผ่อนคลายไม่เกร็งไม่ควรโน้มไปข้างหน้าหงายไปข้างหลังหรือเอียงไปข้างๆ

  4. ปากควรปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ   หมายถึงไม่ควรหุบปากหรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขน ไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อและหุบปากเพียงเล็กน้อย

  5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย   คือ กล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกให้ผ่อนคลายแบบธรรมชาติ

  6. หลังควรยืนตรงให้ตระหง่าน   หมายความว่าไม่แอ่นหน้า แอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยให้แผ่นหลังยืดตรงตามธรรมชาติ

  7. บั้นเอวควรตั้งตรงเป็นแกนเพลา   หมายถึงบั้นเอวต้องอยู่ในลักษณะตรง

  8. ลำแขนควรแกว่งไกว    หมายถึงแกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา

  9. ข้อศอกควรปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึงขณะแกว่งแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรงอข้อศอกเล็กน้อยตามธรรมชาติ

  10. ข้อมือควรปล่อยให้หนักหน่วง   หมายถึงขณะที่แกว่งแขนทั้งสองข้างนั้น แขนทั้งสองข้างนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกมือหนัก

  11. สองมือควรพายไปตามจังหวะแกว่งแขน   หมายถึงขณะที่แกว่งแขนนั้น ทำท่าคล้ายพายเรือ

  12. ช่วงท้องควรปล่อยตามสบาย   หมายถึงเมื่อกล้ามเนื้อท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลาย แล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น

  13. ช่วงขาควรผ่อนคลาย หมายถึงขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองข้างแยกห่างกันนั้นควรผ่อนกล้ามเนื้อช่วงขา

  14. บั้นท้าย(ก้น)ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย ระหว่างทำกายบริหารนั้นต้องหดก้น คล้ายยกสูงให้หดหายไปในลำไส้

  15. ส้นเท้าควรยืนถ่วงน้ำหนักเสมอก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคง ยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน

  16. ปลายนิ้วเท้าควรจิกแน่นกับพื้น   หมายถึงขณะที่ยืนนั้น ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้าง ควรจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง