ตะกั่ว

        ตะกั่วเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มากเป็นเวลานานหลายพันปี   ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเภทมาเป็นเวลานาน   โดยตะกั่วมีแหล่งกำเนิด 7 ทางกล่าวคือ

  1. แหล่งจากการประกอบอาชีพ ได้แก่ การทำเหมืองตะกั่ว อุตสาหกรรมอีเล็คโทรนิคและคอมพิวเตอร์ การเคลือบสารตะกั่ว การบัดกรีตะกั่ว   การเติมน้ำมัน  เป็นต้น

  2. แหล่งจากอากาศที่ปนเปื้อนตะกั่ว

  3. แหล่งจากดินและฝุ่น

  4. แหล่งจากอาหารและน้ำดื่ม

  5. แหล่งจากเครื่องถ้วยชามที่เคลือบปนตะกั่ว

  6. จากแหล่งสีที่มีตะกั่วเป็นพื้น

  7. จากแหล่งอื่นๆ   ซึ่งตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง กล่าวคือ

อาการพิษของตะกั่ว

  1.  ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปวดท้องแบบโคลิค

  2. ระบบประสาทส่วนปลาย   ผู้ป่วยจะอ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนขา เพลียไม่มีแรง ปวดตามข้อมือ เท้าห้อย อาจเป็นอัมพาตได้

  3. อาการทางสมอง มักพบในเด็กที่ได้สารตะกั่วในปริมาณที่สูง จะเกิดอาการนอนไม่หลับ ฝันร้าย อารมณ์ฉุนเฉียว ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าปกติ สติคุ้มดี คุ้มร้าย ชักหมดสติ

  4. ระบบเลือด จะเป็นโรคโลหิตจาง ซีด อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง

นอกจากนี้จะมีการพบ Lead Line ซึ่งเป็นเส้นทึบสีดำ น้ำเงินเข้ม หรือน้ำตาลที่ไต้แนวฟัน ประมาณ 1-2 มม. เป็นเส้นตรงขอบตัด

การแก้พิษตะกั่ว

  1. ถ้าได้รับตะกั่วปริมาณเข้ากระเพาะควรรักษาโดยให้ทิงเจอร์เบลดอนนา บรรเทาอาการปวดท้อง หรือให้อะโทรปีนและขจัดการดูดซึมของตะกั่วให้น้อยลง โดยกินอาหารประเภท นม ผัก และเกลือแคลเซียม

  2. ให้กำจัดตะกั่วโดยกินแมกนีเซียมซัลเฟตเพื่อเร่งการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าปวดท้องมากควรฉีดแคลเซียมกลูโคเนต 10 ซีซี เข้าเส้นเลือดดำช้าๆ

  3. กรณีชัก อาจให้ Diazepam จะได้ผลดี

  4. การรักษาเฉพาะคือการใช้ยาขับตะกั่วออกจากร่างกาย

การป้องกัน

  1. เลือกเครื่องกระป๋องซึ่งไม่ได้บัดกรีด้วยตะกั่ว

  2. ใช้น้ำบริสุทธิ์ดื่มและปรุงอาหาร

  3. ระวังถ้วยชามเซรามิคที่มีลวดลายสวยงาม

  4. เลิกสูบบุหรี่

  5. กินอาหารธรรมชาติที่มีเส้นใยมาก

กลับสู่ สารพิษจำพวกโลหะ

  กลับสู่ สารพิษต่อสุขภาพ