การจับชีพจร

            การจับชีพจร

                ชีพจร คือ การหดตัวและการขยายตัวของหลอดเลือดแดงตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เมื่อจับดู จะรู้สึกว่าเป็นเส้นๆ หยุ่นๆ แน่นๆ ภายในเส้นนี้มีเลือดสม่ำเสมอ เมื่อกดลงจะรู้สึกเต้น ซึ่งจะตรงกับการเต้นของหัวใจ ปกติผู้ใหญ่เมื่อพักแล้วชีพจรจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที เฉลี่ย 72 ครั้งต่อนาที ส่วนในทารกและเด็กเล็ก ประมาณ 90-140 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่านั้น เราสามารถจับชีพจรได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนี้

  1. ที่ข้อมือทางด้านนิ้วหัวแม่มือ

  2. ที่ขมับ

  3. มุมกระดูกขากรรไกรล่าง

  4. ข้างๆคอ

  5. ข้อพับแขน

  6. ขาหนีบ

  7. บริเวณขาพับ

  8. บนหลังเท้าทางนิ้วหัวแม่เท้า

วิธีจับชีพจร

  1. ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ใช้นิ้วกลางสัมผัสกับชีพจรมากกว่าอีก 1 นิ้ว

  2. อย่าใช้นิ้วหัวแม่มือ

  3. ให้อวัยวะส่วนที่จับ วางลงราบๆโดยมีที่หนุน อย่ายกแขนผู้ป่วยขึ้นจับ

  4. นับครึ่งนาทีหรือ 1 นาที ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนับทั้ง 2 ข้าง และนับให้เต็ม 1 นาที ถ้าสงสัยควรนับใหม่